ชื่อหน่วย  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอุบัติใหม่ในงานอาชีพสังคมออนไลน์  จำนวนชั่วโมง 2 ช.ม.
สาระสำคัญเทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Emerging Technology) ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน ทั้งด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ ด้านการแพทย์ ด้านความมั่นคง และอื่นๆ อีกมากมาย เช่น อินเทอร์เน็ต เพื่อทุกสรรพสิ่ง (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) เทคโนโลยีเหล่านี้มีการเชื่อมโยงกันโดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์และแอปพลิเคชันเพื่อทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว สามารถทำงานร่วมกันได้ในเวลาเดียวกัน เพิ่มประสิทธิภาพให้กับโปรแกรมในรูปแบบออนไลน์ สาระการเรียนรู้
  1.  เทคโนโลยีอุบัติใหม่
  2.  การประยุกต์ใช้โปรแกรมผ่านการประมวลผลกลุ่มเมฆ

จุดประสงค์การเรียนรู้
  1.  บอกความหมายของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ได้
  2.  อธิบายเทคโนโลยี Internet of Things ได้
  3.  อธิบายเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้
  4.  มีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ผู้สอนสามารถสังเกตเห็นได้ ในด้านความมีมนุษยสัมพันธ์ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความเชื่อมั่นในตนเอง    ความสนใจใฝ่รู้   ความรักสามัคคี   ความกตัญญูกตเวที
 กิจกรรมการเรียนการสอนขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
  1.  นักเรียนทำแบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อนเรียน
  2. ครูและผู้เรียนกล่าวถึงการใช้เว็บไซต์ต่างๆ ในการติดต่อสื่อสารกันภายในกลุ่มเพื่อน ครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเราเรียกว่า สังคมออนไลน์ ซึ่งนิยมใช้กันมาในปัจจุบัน
  3. ครูสนทนากับนักเรียนถึงเทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Emerging Technology) ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน ทั้งด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ ด้านการแพทย์ ด้านความมั่นคง และอื่นๆ อีกมากมาย เช่น อินเทอร์เน็ต เพื่อทุกสรรพสิ่ง (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) เทคโนโลยีเหล่านี้มีการเชื่อมโยงกันโดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์และแอปพลิเคชันเพื่อทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว สามารถทำงานร่วมกันได้ในเวลาเดียวกัน เพิ่มประสิทธิภาพให้กับโปรแกรมในรูปแบบออนไลน์ที่เบื่อการหลอกลวงจากการใช้ชื่อแฝงในเว็บไซต์อื่น หันมาใช้เฟซบุ๊กกันมากขึ้นจนเป็นเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก
 ขั้นสอน
  1.  ครูอธิบายถึงเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่โดยนำวิทยาการคอมพิวเตอร์มาพัฒนา และกำลังมีบทบาทในชีวิตประจำวันในด้านต่างๆ โดยการนำวิทยาการคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาทฤษฎีการคำนวณ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ โดยประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ และมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เพื่อตอบสนองการใช้งานด้านต่างๆ ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดทำรายงานด้วยโปรแกรม Microsoft Word การคำนวณยอดขายด้วยโปรแกรม Microsoft Excel การนำเสนอข้อมูลด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint การค้นหาข้อมูลจาก Google Chrome การติดต่อสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วย Facebook, Messenger, Line เป็นต้น
  2.  ครูสนทนากับนักเรียนอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสรรพสิ่ง หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง คือ การนำอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถสื่อสารและควบคุมการใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นโดยใช้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เช่น Smart Phone หรือ Tablet ซึ่งจะต้องมีแอปพลิเคชันในการสั่งการ โดยสั่งการจากแอปพลิเคชันด้วย Computer หรือ Smart Phone เป็นต้น เช่น เครื่องจักรในโรงงาน รถยนต์ เครื่องใช้ภายในบ้านช่วยทำให้การดำเนินชีวิตมีความสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น
  3.  ครูซักถามนักเรียนว่าเทคโนโลยี Internet of Things คืออะไร นำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านใด
 ขั้นสรุปและการประยุกต์
  1.  นักเรียนทำแบบฝึกปฏิบัติ และแบบประเมินผลการเรียนรู้
  2.  ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน และเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย
  3.  เมื่อนักเรียนทำแบบประเมินผลการเรียนรู้เสร็จแล้ว จับคู่สลับกันตรวจบันทึกผลการประเมินส่งให้ครู
  4.  ครูตรวจสอบความถูกต้องและเปรียบเทียบผลการประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน แจ้งผลการประเมินให้นักเรียนแต่ละคนทราบความก้าวหน้าในการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอน
  1.  หนังสือเรียนวิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ (20001-2001) ของบริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด
  2.  เฉลยแบบประเมินผลการเรียนรู้
  3.  อินเทอร์เน็ต
 การวัดและการประเมินผลวิธีวัดผล
  1.  สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล
  2.  สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
  3.  ตรวจแบบประเมินผลการเรียนรู้ หน่วยที่ 10
  4.  การสังเกตและประเมินผลพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

เครื่องมือวัดผล
  1.  แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล
  2.  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม 
  3.  แบบประเมินผลการเรียนรู้ หน่วยที่ 10
  4. แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยครูและนักเรียนร่วมกันประเมิน  

เกณฑ์การประเมินผล
  1.  แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล เกณฑ์ผ่าน ต้องไม่มีช่องปรับปรุง
  2.  แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม เกณฑ์ผ่าน 50% ขึ้นไป
  3.  แบบประเมินผลการเรียนรู้ หน่วยที่ 10  เกณฑ์ผ่าน ทำถูกต้อง 50% ขึ้นไป
  4.  แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คะแนนขึ้นอยู่กับ      การประเมินตามสภาพจริง
 กิจกรรมเสนอแนะ -